จำนวนผู้เข้าชม

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำ
Chaophrayansawan03.jpg
ต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยาในจังหวัดนครสวรรค์
ประเทศประเทศไทย
จังหวัดนครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, นนทบุรี, กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ
แม่น้ำสาขา
 - ซ้ายแม่น้ำป่าสัก
 - ขวาแม่น้ำสะแกกรัง
เมืองเมืองนครสวรรค์, พระนครศรีอยุธยา, กรุงเทพ, เมืองสมุทรปราการ
ต้นกำเนิดไหลรวมจากแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน
 - ตำแหน่งปากน้ำโพ, อำเภอเมืองนครสวรรค์, จังหวัดนครสวรรค์
ปากแม่น้ำปากน้ำ
 - ตำแหน่งอ่าวไทย, อำเภอเมืองสมุทรปราการ, จังหวัดสมุทรปราการ
 - ระดับ
ความยาว372 km (231 mi)
พื้นที่ลุ่มน้ำ160,400 ตร.กม. (61,931 ตร.ไมล์)
การไหลfor นครสวรรค์
 - เฉลี่ย718 m3/s (25,356 cu ft/s)
 - สูงสุด5,960 m3/s (210,475 cu ft/s)
แผนที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
แผนที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

[แก้] ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ 20,125 ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก และท่าจีน)[1] และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดชัยนาท
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำเก่าในยุคไพลสโตซีน เป็นหนึ่งแควหลักของแม่น้ำซุนดาเหนือ ร่วมสมัยกับแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ต่อมาในต้นยุคโฮโลซีน น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็ง ทำให้ขอบเขตแม่น้ำเจ้าพระยาหายไป เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเกือบทั้งหมดจมอยู่ใต้อ่าวไทยโบราณ จากนั้นจึงเริ่มการทับถมของดินตะกอนใหม่อีกครั้งเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน

[แก้] การขุดลัดแม่น้ำ

แผนที่การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสามครั้งในสมัยอยุธยา เส้นสีน้ำเงินคือแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม เส้นสีเขียวคือแนวคลองลัด
การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา ซึ่งประกอบด้วย
  1. คลองลัดบางกอก พ.ศ. 2065[2] รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
  2. คลองลัดบางกรวย พ.ศ. 2081 รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
  3. คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. 2139 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ล่าสุดมีการขุดลอกคลองลัดโพธิ์ บริเวณตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง เพื่อช่วยในการระบายน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้า

[แก้] ลำน้ำสาขา

ด้วยความที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลาง ทั้งในด้านการเดินทางและวิถีชีวิต นอกจากจะมีการสร้างสะพานและท่าน้ำจำนวนมากแล้ว ยังมีลำน้ำสาขา คลองธรรมชาติ และคลองขุด ซึ่งเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายใน ให้สามารถติดต่อถึงกันได้ โดยลำน้ำสาขาและคลองมีจำนวนมาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

[แก้] ต้นน้ำ

ต้นน้ำซึ่งได้ไหลมาลงยังแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วย

[แก้] ลำน้ำสาขาฝั่งซ้าย

ลำน้ำสาขาทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุดในฝั่งซ้ายหรือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย

[แก้] จังหวัดนนทบุรี

[แก้] กรุงเทพมหานคร

[แก้] จังหวัดสมุทรปราการ

[แก้] ลำน้ำสาขาฝั่งขวา

ลำน้ำสาขาทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุดในฝั่งขวาหรือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย

[แก้] จังหวัดนนทบุรี

[แก้] กรุงเทพมหานคร

[แก้] จังหวัดสมุทรปราการ

[แก้] ท่าน้ำ

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมอีกเส้นทางสำหรับคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้มีการสร้างท่าน้ำจำนวนมากเพื่อรองรับการขนส่งทางน้ำ โดยท่าน้ำในการเดินเรือโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีดังนี้
  • ปากเกร็ด
  • วัดกลางเกร็ด
  • กระทรวงพาณิชย์
  • สะพานพระนั่งเกล้า
  • พิบูลสงคราม 4
  • นนทบุรี (พิบูลสงคราม 3)
  • บางศรีเมือง
  • พิบูลสงคราม 2
  • สะพานพระราม 5
  • วัดเขียน
  • วัดตึก
  • วัดเขมา
  • วัดค้างคาว
  • พิบูลสงคราม 1
  • พระราม 7
  • วัดสร้อยทอง
  • บางโพ
  • เกียกกาย
  • วัดฉัตรแก้ว
  • เขียวไข่กา
  • กรมชลประทาน
  • พายัพ
  • วัดเทพนารี
  • สะพานกรุงธน
  • วาสุกรี
  • วัดคฤหบดี
  • เทเวศร์
  • สะพานพระราม 8 (บางขุนพรหม)
  • พระอาทิตย์ (บางลำพู)
  • พระปิ่นเกล้า
  • รถไฟ
  • พรานนก (ศิริราช)
  • วังหลัง
  • พระจันทร์
  • มหาราช
  • ท่าช้าง
  • วัดระฆัง
  • ราชวรดิฐ
  • ท่าเตียน
  • วัดอรุณ
  • ราชินี
  • ปากคลองตลาด
  • วัดกัลยาณมิตร
  • ซางตาครูซ
  • สะพานพุทธ
  • ราชวงศ์
  • ท่าดินแดง
  • กรมเจ้าท่า
  • สี่พระยา
  • คลองสาน
  • วัดม่วงแค
  • วัดสุวรรณ
  • โอเรียนเต็ล
  • วัดสวนพลู
  • ดูเม็กซ์
  • สาทร
  • ตากสิน
  • วัดเศวตฉัตร
  • วัดวรจรรยาวาส
  • วัดราชสิงขร
  • ถนนตก
  • บิ๊กซีราษฎร์บูรณะ
  • ราษฎร์บูรณะ
  • สาธุประดิษฐ์
  • คลองลัดหลวง
  • วัดบางกระเจ้านอก
  • เพชรหึงษ์
  • วัดคลองเตยนอก
  • วัดบางน้ำผึ้งนอก
  • บางนา (วัดบางนานอก)
  • ท่าตาเลื่อน (บางน้ำผึ้ง)
  • เภตรา (พระประแดง)
  • วิบูลย์ศรี (ปากน้ำ)
  • พระสมุทรเจดีย์

[แก้] สะพาน

แม่น้ำเจ้าพระยาใกล้สะพานพระราม 8 กรุงเทพมหานคร
แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศ จึงมีสะพานข้ามแม่น้ำจำนวนมาก และส่วนใหญ่ในจำนวนนี้เป็นสะพานที่มีชื่อเรียก เช่น (เรียงจากต้นน้ำ)