จำนวนผู้เข้าชม

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาโปรแกรม

การพัฒนาโปรแกรม
ผลการเรียนรู้
1. อธิบายวงจรการพัฒนาโปรแกรมได้
2. มีทักษะในการสร้างผังงานอย่างง่ายได้
3. มีเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาโปรแกรม
 
โปรแกรมคอมพิวเตอร์        งจรการพัฒนาโปรแกรม        การวิเคราะห์ปัญหา      การออกแบบโปรแกรม
การเขียนโปรแกรม         การทดสอบโปรแกรม       การบำรุงรักษาโปรแกรม     
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
คือชุดคำสั่งที่ใช้สั่งงานและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ การที่จะเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาจะต้องพิจารณาจากระบบงานอย่างละเอียดของข้อมูลนำเข้า ที่มาของข้อมูลนำเข้า ข้อมูลที่ต้องการแสดงผล และรูปแบบการแสดงผล
วงจรการพัฒนาโปรแกรม   (Program Development Life Cycle: PDLC)
วงจรการพัฒนาโปรแกรม (PDLC) คือ ขั้นตอนการทำงานที่โปรแกรมเมอร์ใช้สำหรับสร้างโปรแกรม  ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
  1. การวิเคราะห์ปัญหา (Program Analysis)
  2.  การออกแบบโปรแกรม (Program Design)
  3.  การเขียนโปรแกรม (Program Coding)
  4.  การทดสอบโปรแกรม (Program Testing)
  5. การบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Maintenance)
1. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)
เป็นขั้นตอนแรกของวงจรการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเป็นการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและค้นหาสิ่งที่ต้องการ เพื่อพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

  1. ข้อมูลที่จะนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
  2. วิธีการประมวลผลข้อมูลที่นำเข้าและผลลัพธ์ที่ต้องการ
  3. การแสดงผลที่ได้ ต้องการแสดงผลลัพธ์อะไรและมีหน้าตาเป็นอย่างไร

ตัวอย่าง  ถ้าต้องการสร้างโปรแกรมที่มีการนำตัวเลขเข้ามา 5 ตัว และให้แสดงผลเป็นค่าเฉลี่ยบนจอภาพ
ข้อมูลนำเข้า          คือ ตัวเลข 5 ตัว เช่น 2  3  4 5  6
การประมวลผล  คือ คำนวณหาค่าเฉลี่ย  เช่น (2+3+4+5+6)/5
การแสดงผล          คือ แสดงค่าเฉลี่ยผ่านทางจอภาพ เช่น 15.2
2. การออกแบบโปรแกรม (Program Design)
                  เป็นขั้นตอนที่ 2 ของวงจรการพัฒนาโปรแกรมซึ่งการออกแบบโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เครื่องมือช่วยในการออกแบบ เช่น ผังงาน (Flowchart) รหัสจำลอง (Pseudo code) เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้ดียิ่งขึ้น

ผังงาน (Flowchart) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้รูปภาพแสดงถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรมและมีลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากจุดเริ่มต้นถึงจุดเส้นสุด
รหัสจำลอง  (Pseudo-code) ใช้แสดงขั้นตอนการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายๆิยมเขียนด้วยภาษาอังกฤษเพราะจะคล้ายคลึงกับภาษาโปรแกรมมาก มีการใช้โครงสร้างคำสั่งเฉพาะ เช่น IF-THEN-ELSE, DO-WHILE, DO-UNTIL และจบด้วย ENDIF หรือ ENDDOสามารถแปลงเป็นโปรแกรมได้โดยง่าย
เช่น
START
                Read SIDE1, SIDE2, HEIGHT
                Compute AREA = ((SIDE1 + SIDE2)*HEIGHT)/2
                Print AREA
STOP
3. การเขียนโปรแกรม (Program Coding)
ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังจากที่ได้มีการออกแบบโปรแกรมแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา C ,ภาษา Pascal เป็นต้น ทั้งนี้แต่ละภาษาจะมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันออกไป
4. การทดสอบโปรแกรม (Program Testing)
เป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา และผลการทำงานของโปรแกรมนั้น ถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้อง   ซึ่งการเกิด Error ของโปรแกรมมักมีมาจาก 2 สาเหตุเท่านั้น คือ
1. Syntax Error คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนโค้ดคำสั่ง (Source Code) ที่ไม่ตรงกับ...ไวยากรณ์ (Syntax) ของภาษาโปรแกรมมิ่งนั้นๆ
2.  Logic Error เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากการออกแบบอัลกอริทึมให้ทำงานผิดวัตถุประสงค
ข้อผิดพลาดของโปรแกรม เรียกว่า “Bug”                
ส่วนการแก้ไขข้อผิดพลาด เรียกว่า “Degug”                                       
โปรแกรมที่ทำงานไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ เรียกว่ามี “Error”
5. การบำรุงรักษาโปรแกรม    (Program Maintenance)
เมื่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแลและคอยตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น